วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลักสูตรท้องถิ่น

หลักสูตรพืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู
ความสำคัญ หากจะกล่าวถึงสมุนไพร ปัจจุบันมีการผลิตยาสมุนไพรหลายอย่างออกมาจำหน่ายในท้องตลาดซึ่งแน่นอนว่า “ตัวสมุนไพร” ที่นำมาสกัดและผลิตเป็นยาต่าง ๆ นั้นย่อมมีสรรพคุณทางยาตามธรรมชาติ แต่ทว่าเมื่อถูกนำมาสกัดและผสมกับตัวยาอื่น ๆ แล้วนั้น จึงยังน่าจะระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะการผลิตจากแต่ละแห่งอาจให้ผลในการบำบัดโรคที่แตกต่างกันออกไป
การใช้ยาสมุนไพรตามท้องตลาดน่าจะนำมาปรึกษาแพ­ทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชสมุนไพรเสียก่อนเพื่อความปลอดภัย
เพราะแม้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่เป็นอันตราย แต่ยาสมุนไพรนั้นจะมีปฏิกิริยาไม่เหมือนกันในทุก ๆ คนเสมอไป บางคนอาจมีอาการแพ้หรือมีอาการข้างเคียงอื่น ๆ ในขณะที่บางคนอาจหายจากอาการป่วยเพราะยาสมุนไพรชนิดนั้นได้
มิใช่เฉพาะแต่ในเมืองไทยเท่านั้น วัฒนธรรมการใช้สมุนไพรเพื่อบำรุงสุขภาพร่างกายและรักษาโรคต่าง ๆ นั้นยังเป็นที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาในอินเดียและจีน หากสืบย้อนกลับไปสมัยอียิปต์โบราณก็จะพบว่ามีการใช้พืชสมุนไพรกันมากเช่นกัน
ข้อควรรู้อย่างหนึ่งคือสมุนไพรสดนั้นจะให้ประโยชน์ทางยาได้มากกว่าสมุนไพรแห้ง การนำพืชสมุนไพรสดมาประกอบอาหารจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรไทยที่อยู่ใกล้ตัวเราและเสมือนเป็นมรดกของแผ่นดินที่แม้ทั่วโลกก็ยอมรับ และพยายามนำสมุนไพรไทยไปวิเคราะห์วิจัยอย่างจริงจังเสมอมา
แม้ว่าเราจะได้คุณค่าทางโภชนาการไม่มากจากสมุนไพรเพราะเวลาประกอบอาหารเรานำมาใช้แต่เพียงเล็กน้อย แต่การนำมาใช้เป็นประจำก็จะได้ประโยชน์อย่างแน่นอนในการบำรุงสุขภาพและบำบัดรักษาอาการเจ็บไข้ไม่สบายบางอย่างและแม้ว่าสมุนไพรไทยจะขึ้นชื่อในแง่ของความปลอดภัย แต่ก็ให้สังเกตตัวเองด้วยว่าแพ้สมุนไพรใดหรือไม่ เช่น บางคนกินขิง ข่า แล้วหายจุกเสียดท้อง ขณะที่บางคนอาจเกิดอาการแพ้ในลักษณะอื่น ๆ ก็เป็นได้ ความสะอาดและการสังเกตตัวเองจึงเป็นข้อควรปฏิบัติในการใช้สมุนไพรให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
(เปรม แสงแก้ว. สมุนไพรกินได้ 100 ชนิด ต้านโรค – บำรุงสุขภาพ. กรุงเทพฯ : ไพลิน, 2547, 112 หน้า)
จุดประสงค์
1. เพื่อให้เด็กรู้จักชื่อพืชสมุนไพรในท้องถิ่น
2. เห็นคุณค่าและประโยชน์ของพืชสมุนไพร
3. มีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน และมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานจนประสบความสำเร็จ





โครงสร้างเนื้อหา
หลักสูตรท้องถิ่นระดับปฐมวัย เรื่อง พืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู มุ่งให้เด็กเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น รู้จักนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ อนุรักษ์สมุนไพรในท้องถิ่นมีคุณลักษณะในการทำงานที่ดี เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 คาบ ซึ่งมีโครงสร้างเนื้อหาให้เด็กได้ปฏิบัติตามลำดับ ดังนี้
1. ระดมความคิด
2. ใกล้บ้านคุณนิดมีต้นอะไร
3. ใบอะไรใช้ทาแผล
4. คุณแม่นำต้นอะไรมาทำอาหาร
5. ประโยชน์นานาประการ
เวลาเรียน
หลักสูตรท้องถิ่นระดับปฐมวัย ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 25 คาบ
แนวการจัดประสบการณ์
เพื่อให้การจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องพืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ จึงได้กำหนดแนวทางการจัดประสบการณ์ไว้ดังนี้
1. จัดกิจกรรมโดยให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
2. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้เป็นรายบุคคลและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม
3. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
4. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ตามลำดับขั้นของการปฏิบัติงาน
5. จัดกิจกรรมโดยเน้นให้เด็กเกิดความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน
6. จัดการเรียนรู้ให้เด็กได้เรียนรู้จากตำรา เอกสาร ใบความรู้ ใบงาน และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
7. จัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เด็กมีความกระตือรือร้น รู้จักรับผิดชอบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
8. จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้เด็กศึกษานอกสถานที่
แหล่งการเรียนรู้ และสื่อประกอบการจัดกิจกรรม
ในการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง พืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สื่อที่ใช้ในการจัดประสบการณ์และฝึกปฏิบัติจริงประกอบด้วย
1. หนังสือ เอกสาร และตำราเกี่ยวกับพืชผักสมุนไพร
2. บ้านของเด็ก ๆ แต่ละคน
3. ใบความรู้เรื่อง พืชผักสมุนไพร
4. ภาพตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากพืชผักสมุนไพร
5. วิทยากรท้องถิ่นผู้มีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร

การวัดผลประเมินผล
1. วิธีการวัดและประเมินผล
- การสังเกต
เครื่องมือที่ใช้
- แบบบันทึกการสังเกต
การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี

พัฒนาการ
มาตรฐาน
ตัวบ่งชี้
สภาพที่พึงประสงค์
(5 ปี)
สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
มาตรฐานที่ 1
ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 2 รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้
1. พืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู
การปฏิบัติตามสุขอนามัย
ด้านสังคม
มาตรฐานที่ 7
รักธรรมชาติสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ตัวบ่งชี้ที่ 1
ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. สนใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
2. ช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น









การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี

พัฒนาการ
มาตรฐาน
ตัวบ่งชี้
สภาพที่พึงประสงค์
(5 ปี)
สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านสังคม
มาตรฐานที่ 8
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ตัวบ่งชี้ที่ 1
เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
เล่นหรือทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
พืชผักสมุนไพรใกล้บ้าน
- การสำรวจ
- การสืบคืนข้อมูล
ด้านอารมณ์
มาตรฐานที่
มีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงาม
ตัวบ่งชี้ที่ 1
มีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบ
มุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จได้ด้วยตัวเอง
ความรับผิดชอบในห้องเรียน
การเล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
ด้านสติปัญญา
มาตรฐานที่ 12
มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 1
สนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว


ร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ ตั้งแต่ต้นจนจบอย่างมีความสุข
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
- การสนทนา
- การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการดมกลิ่น สัมผัส
- การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด




การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี

พัฒนาการ
มาตรฐาน
ตัวบ่งชี้
สภาพที่พึงประสงค์
(5 ปี)
สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ


ตัวบ่งชี้ที่ 2
แสวงหาคำตอบด้วยวิธีการที่หลากหลาย

- ถามคำถาม/แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ
- แสวงหาคำตอบข้อสงสัยด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย
- เชื่อมโยงความรู้และทักษะต่าง ๆ ใช้ในชีวิตประจำวันได้



โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร – ประกอบด้วยเนื้อหา 5 เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ 1. ชื่อพืชผักสมุนไพรในท้องถิ่น
2.การปลูกการดูแลรักษา
3.ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพรในท้องถิ่น
4.อาหารที่ทำจากพืชผักสมุนไพร
5.อันตรายจากพืชผักสมุนไพร





ผังมโนทัศน์หลักสูตรท้องถิ่น
ระดับปฐมวัย เรื่อง พืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู


ชื่อพืชผักสมุนไพร
ขิง
แมงลัก
โหระพา
ตะไคร้
สระแหน่
คึ่นฉ่าย
ผักบุ้ง
ข่า
ประโยชน์
ใช้รักษาโรค
เป็นเครื่องปรุง
การปลูกการดูแล
หว่านเมล็ด
ปักชำ
บำรุงปุ๋ย
รดน้ำ
ตอนกิ่ง
พรวนดิน
พืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนูหนู
ใช้รับประทาน
อันตราย
มีไข่พยาธิ
อาหารที่ทำจากพืชสมุนไพร





ผัดผักบุ้ง
น้ำขิง
น้ำตะไคร้
















กำหนดการจัดประสบการณ์ เรื่อง พืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู

สัปดาห์ที่
แผนที่
เนื้อหา
จุดประสงค์
กิจกรรม
จำนวน
(คาบ)
1
1
สาระที่ 1
- เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
- หน่วยพืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู
1. เด็กสามารถพัฒนาด้านร่างกายให้แข็งแรง
2. เด็กสามารถพัฒนาด้านอารมณ์จิตใจ สังคม
3. เด็กสามารถพัฒนาด้านสติปัญญา (รายละเอียดในแบบประเมินพัฒนาการประจำสัปดาห์)
จัดกิจกรรมโดยใช้ 6 กิจกรรมหลัก คือ
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์
3. กิจกรรมเสรี
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. เกมการศึกษา
25 คาบ


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เด็กได้รู้จักชื่อของพืชผักสมุนไพร
2. เด็กเห็นคุณค่าและประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
3. มีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน

1 ความคิดเห็น: