วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลักสูตรท้องถิ่น

ส่งงานให้สาย ลองดูซิรายละเอียดครบหรือเปล่า

หลักสูตรท้องถิ่น

หลักสูตรพืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู
ความสำคัญ หากจะกล่าวถึงสมุนไพร ปัจจุบันมีการผลิตยาสมุนไพรหลายอย่างออกมาจำหน่ายในท้องตลาดซึ่งแน่นอนว่า “ตัวสมุนไพร” ที่นำมาสกัดและผลิตเป็นยาต่าง ๆ นั้นย่อมมีสรรพคุณทางยาตามธรรมชาติ แต่ทว่าเมื่อถูกนำมาสกัดและผสมกับตัวยาอื่น ๆ แล้วนั้น จึงยังน่าจะระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะการผลิตจากแต่ละแห่งอาจให้ผลในการบำบัดโรคที่แตกต่างกันออกไป
การใช้ยาสมุนไพรตามท้องตลาดน่าจะนำมาปรึกษาแพ­ทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชสมุนไพรเสียก่อนเพื่อความปลอดภัย
เพราะแม้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่เป็นอันตราย แต่ยาสมุนไพรนั้นจะมีปฏิกิริยาไม่เหมือนกันในทุก ๆ คนเสมอไป บางคนอาจมีอาการแพ้หรือมีอาการข้างเคียงอื่น ๆ ในขณะที่บางคนอาจหายจากอาการป่วยเพราะยาสมุนไพรชนิดนั้นได้
มิใช่เฉพาะแต่ในเมืองไทยเท่านั้น วัฒนธรรมการใช้สมุนไพรเพื่อบำรุงสุขภาพร่างกายและรักษาโรคต่าง ๆ นั้นยังเป็นที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาในอินเดียและจีน หากสืบย้อนกลับไปสมัยอียิปต์โบราณก็จะพบว่ามีการใช้พืชสมุนไพรกันมากเช่นกัน
ข้อควรรู้อย่างหนึ่งคือสมุนไพรสดนั้นจะให้ประโยชน์ทางยาได้มากกว่าสมุนไพรแห้ง การนำพืชสมุนไพรสดมาประกอบอาหารจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรไทยที่อยู่ใกล้ตัวเราและเสมือนเป็นมรดกของแผ่นดินที่แม้ทั่วโลกก็ยอมรับ และพยายามนำสมุนไพรไทยไปวิเคราะห์วิจัยอย่างจริงจังเสมอมา
แม้ว่าเราจะได้คุณค่าทางโภชนาการไม่มากจากสมุนไพรเพราะเวลาประกอบอาหารเรานำมาใช้แต่เพียงเล็กน้อย แต่การนำมาใช้เป็นประจำก็จะได้ประโยชน์อย่างแน่นอนในการบำรุงสุขภาพและบำบัดรักษาอาการเจ็บไข้ไม่สบายบางอย่างและแม้ว่าสมุนไพรไทยจะขึ้นชื่อในแง่ของความปลอดภัย แต่ก็ให้สังเกตตัวเองด้วยว่าแพ้สมุนไพรใดหรือไม่ เช่น บางคนกินขิง ข่า แล้วหายจุกเสียดท้อง ขณะที่บางคนอาจเกิดอาการแพ้ในลักษณะอื่น ๆ ก็เป็นได้ ความสะอาดและการสังเกตตัวเองจึงเป็นข้อควรปฏิบัติในการใช้สมุนไพรให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
(เปรม แสงแก้ว. สมุนไพรกินได้ 100 ชนิด ต้านโรค – บำรุงสุขภาพ. กรุงเทพฯ : ไพลิน, 2547, 112 หน้า)
จุดประสงค์
1. เพื่อให้เด็กรู้จักชื่อพืชสมุนไพรในท้องถิ่น
2. เห็นคุณค่าและประโยชน์ของพืชสมุนไพร
3. มีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน และมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานจนประสบความสำเร็จ





โครงสร้างเนื้อหา
หลักสูตรท้องถิ่นระดับปฐมวัย เรื่อง พืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู มุ่งให้เด็กเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น รู้จักนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ อนุรักษ์สมุนไพรในท้องถิ่นมีคุณลักษณะในการทำงานที่ดี เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 คาบ ซึ่งมีโครงสร้างเนื้อหาให้เด็กได้ปฏิบัติตามลำดับ ดังนี้
1. ระดมความคิด
2. ใกล้บ้านคุณนิดมีต้นอะไร
3. ใบอะไรใช้ทาแผล
4. คุณแม่นำต้นอะไรมาทำอาหาร
5. ประโยชน์นานาประการ
เวลาเรียน
หลักสูตรท้องถิ่นระดับปฐมวัย ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 25 คาบ
แนวการจัดประสบการณ์
เพื่อให้การจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องพืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ จึงได้กำหนดแนวทางการจัดประสบการณ์ไว้ดังนี้
1. จัดกิจกรรมโดยให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
2. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้เป็นรายบุคคลและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม
3. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
4. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ตามลำดับขั้นของการปฏิบัติงาน
5. จัดกิจกรรมโดยเน้นให้เด็กเกิดความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน
6. จัดการเรียนรู้ให้เด็กได้เรียนรู้จากตำรา เอกสาร ใบความรู้ ใบงาน และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
7. จัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เด็กมีความกระตือรือร้น รู้จักรับผิดชอบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
8. จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้เด็กศึกษานอกสถานที่
แหล่งการเรียนรู้ และสื่อประกอบการจัดกิจกรรม
ในการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง พืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สื่อที่ใช้ในการจัดประสบการณ์และฝึกปฏิบัติจริงประกอบด้วย
1. หนังสือ เอกสาร และตำราเกี่ยวกับพืชผักสมุนไพร
2. บ้านของเด็ก ๆ แต่ละคน
3. ใบความรู้เรื่อง พืชผักสมุนไพร
4. ภาพตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากพืชผักสมุนไพร
5. วิทยากรท้องถิ่นผู้มีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร

การวัดผลประเมินผล
1. วิธีการวัดและประเมินผล
- การสังเกต
เครื่องมือที่ใช้
- แบบบันทึกการสังเกต
การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี

พัฒนาการ
มาตรฐาน
ตัวบ่งชี้
สภาพที่พึงประสงค์
(5 ปี)
สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
มาตรฐานที่ 1
ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 2 รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้
1. พืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู
การปฏิบัติตามสุขอนามัย
ด้านสังคม
มาตรฐานที่ 7
รักธรรมชาติสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ตัวบ่งชี้ที่ 1
ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. สนใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
2. ช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น









การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี

พัฒนาการ
มาตรฐาน
ตัวบ่งชี้
สภาพที่พึงประสงค์
(5 ปี)
สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านสังคม
มาตรฐานที่ 8
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ตัวบ่งชี้ที่ 1
เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
เล่นหรือทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
พืชผักสมุนไพรใกล้บ้าน
- การสำรวจ
- การสืบคืนข้อมูล
ด้านอารมณ์
มาตรฐานที่
มีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงาม
ตัวบ่งชี้ที่ 1
มีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบ
มุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จได้ด้วยตัวเอง
ความรับผิดชอบในห้องเรียน
การเล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
ด้านสติปัญญา
มาตรฐานที่ 12
มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 1
สนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว


ร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ ตั้งแต่ต้นจนจบอย่างมีความสุข
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
- การสนทนา
- การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการดมกลิ่น สัมผัส
- การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด




การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี

พัฒนาการ
มาตรฐาน
ตัวบ่งชี้
สภาพที่พึงประสงค์
(5 ปี)
สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ


ตัวบ่งชี้ที่ 2
แสวงหาคำตอบด้วยวิธีการที่หลากหลาย

- ถามคำถาม/แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ
- แสวงหาคำตอบข้อสงสัยด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย
- เชื่อมโยงความรู้และทักษะต่าง ๆ ใช้ในชีวิตประจำวันได้



โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร – ประกอบด้วยเนื้อหา 5 เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ 1. ชื่อพืชผักสมุนไพรในท้องถิ่น
2.การปลูกการดูแลรักษา
3.ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพรในท้องถิ่น
4.อาหารที่ทำจากพืชผักสมุนไพร
5.อันตรายจากพืชผักสมุนไพร





ผังมโนทัศน์หลักสูตรท้องถิ่น
ระดับปฐมวัย เรื่อง พืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู


ชื่อพืชผักสมุนไพร
ขิง
แมงลัก
โหระพา
ตะไคร้
สระแหน่
คึ่นฉ่าย
ผักบุ้ง
ข่า
ประโยชน์
ใช้รักษาโรค
เป็นเครื่องปรุง
การปลูกการดูแล
หว่านเมล็ด
ปักชำ
บำรุงปุ๋ย
รดน้ำ
ตอนกิ่ง
พรวนดิน
พืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนูหนู
ใช้รับประทาน
อันตราย
มีไข่พยาธิ
อาหารที่ทำจากพืชสมุนไพร





ผัดผักบุ้ง
น้ำขิง
น้ำตะไคร้
















กำหนดการจัดประสบการณ์ เรื่อง พืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู

สัปดาห์ที่
แผนที่
เนื้อหา
จุดประสงค์
กิจกรรม
จำนวน
(คาบ)
1
1
สาระที่ 1
- เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
- หน่วยพืชผักสมุนไพรใกล้บ้านหนู
1. เด็กสามารถพัฒนาด้านร่างกายให้แข็งแรง
2. เด็กสามารถพัฒนาด้านอารมณ์จิตใจ สังคม
3. เด็กสามารถพัฒนาด้านสติปัญญา (รายละเอียดในแบบประเมินพัฒนาการประจำสัปดาห์)
จัดกิจกรรมโดยใช้ 6 กิจกรรมหลัก คือ
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์
3. กิจกรรมเสรี
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. เกมการศึกษา
25 คาบ


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เด็กได้รู้จักชื่อของพืชผักสมุนไพร
2. เด็กเห็นคุณค่าและประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
3. มีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เปรียเทียบ

วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างหลักสูตร 44 กับ 51




รายงาน
เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย

เสนอ

อาจารย์ ดร.อุทัย ปลีกล่ำ
โดย
นางสุธาสินี จันทนา

สาขา การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (1025104)

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553
มหาวิทยาลัยอีสาน


คำนำ
การจัดทำรายงานฉบับนี้ผู้จัดทำได้ค้นคว้าจากเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นข้อมูลให้ความรู้เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ซึ่งรายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (1025104) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553
ผู้จัดทำหวังว่าคงมีประโยชน์ต่อผู้อ่านและผู้สนใจ ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร.อุทัย ปลีกล่ำ ผู้ให้คำแนะนำในการศึกษาค้นคว้า ความดีของเอกสารขอมอบให้แด่บูรพาคณาจารย์ทุกท่านขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่านมา ณ โอกาสนี้


นางสุธาสินี จันทนา
26 พฤษภาคม 2553












สารบัญ

เรื่อง หน้า



1. การศึกษาในระบบ 4
2. การศึกษานอกระบบ 4
3. การศึกษาตามอัธยาศัย 4
4. เทคโนโลยีสำหรับบริหารการศึกษา 4
5. ประโยชน์และความสำคัญของเทคโนโลยีบริหารการศึกษา 4
6. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 6
7. เอกสารอ้างอิง 8












การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบ (Formal Education) เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอนซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย ยังถูกแบ่งเป็นประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษา อีกด้วย สำหรับในการศึกษาขั้นอุดมศึกษานั้น แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก
การศึกษานอกระบบ (Non-formal Education) เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายรูปแบบ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุและสถานที่โดยมุ่งหมายให้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนา คุณภาพมนุษย์ มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน สื่อ การวัดผลและประเมินผลที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทความรู้พื้นฐานสายสามัญประเภทความรู้และทักษะอาชีพ และประเภทข้อมูลความรู้ ทั่วไปการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิต เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อ ชุมชน แหล่งความรู้ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการศึกษาตามอัธยาศัยมีลักษณะสำคัญ คือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอบ การเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งไม่จำกัดเวลาเรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลา และเกิดขึ้นในทุกช่วงวัย ตลอดชีวิต
เทคโนโลยีสำหรับบริหารการศึกษา คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั่นเอง นอกจากนั้นเราอาจจะให้ความหมายเทคโนโลยีบริหารการศึกษาได้กว้างๆ ว่า เป็นเครื่องมือและวิธีการสำหรับช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ประโยชน์และความสำคัญของเทคโนโลยีบริหารการศึกษา การใช้เทคโนโลยีบริหารการศึกษาของผู้บริหารการศึกษาระดับต่างๆ นั้นโดยทั่วไปก็เพื่อให้งานต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบสำเร็จลุล่วงด้วยดี ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีบริหารการศึกษามีประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาเอาไว้เป็นหมวดหมู่ในฐานข้อมูลของหน่วยงาน โดยเฉพาะข้อมูลบางอย่างอาจจัดเก็บเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยอัตโนมัติ เมื่อจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลแล้วก็สามารถค้นคืนข้อมูลต่างๆ มาใช้ได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วน
2. ช่วยในการประมวลผลข้อมูลที่จัดเก็บไว้เพื่อให้เป็นสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เช่น จัดทำเป็นรายงาน ตาราง กราฟ และ แผนภาพต่างๆ ได้แบบอัตโนมัติ ทำให้ผู้บริหารได้รับทราบรายงานและเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
3. ช่วยในการประเมิน หรืองานประกันคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานจะได้ผลที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายจริง
4. ช่วยในการส่งข้อมูลและรายงานที่ประมวลผลได้แล้วไปให้ผู้รับที่อาจจะอยู่ห่างไกลจากหน่วยงาน ทำให้ผู้รับได้รับข้อมูลและรายงานอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะส่วนที่เป็นข้อมูลนั้นหากผู้รับต้องการนำไปใช้ประมวลผลต่อก็สามารถทำได้ทันที ไม่ต้องบันทึกข้อมูลใหม่อีกครั้ง
5. ช่วยในการนำเสนอรายงานหรือข้อเสนอต่างๆ ต่อผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระหว่างการประชุมสัมมนา
6. ช่วยในการจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการปฏิบัติงาน และ การดูงาน เพื่อสร้างเป็นฐานความรู้สำหรับนำมาให้ผู้บริหารระดับล่างได้ศึกษาและนำไปใช้ประกอบการปฏิบัติงาน เช่น ความรู้จากการเปิดสาขาวิชาหรือหลักสูตรใหม่ว่ากำหนดแนวทางไว้อย่างไร การดำเนินงานได้ผลอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร ผลของการแก้ปัญหาเป็นอย่างไร
7. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถทดสอบการตัดสินใจของตนได้โดยอาศัยโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจ จากนั้นก็อาจเลือกดำเนินงานโดยใช้แนวทางที่เห็นว่าดีที่สุดได้
8. ช่วยในงานบริหารโดยตรงของผู้บริหาร เช่น การบริหารงานโครงการ การบันทึกตารางนัดหมาย การบันทึกข้อมูลส่วนตัว การจัดทำเอกสารที่ยังไม่ต้องการเปิดเผย การคำนวณหรือการประมวลผลบางอย่าง
จากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นักศึกษาจะเห็นว่าเทคโนโลยีบริหารการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานและการบริหารงานในปัจจุบัน เราอาจสรุปความสำคัญของเทคโนโลยีบริหารการศึกษาได้ดังต่อไปนี้
1. เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้การบริหารจัดการของผู้บริหารการศึกษามีความสะดวกรวดเร็วและมีคุณภาพ
2. เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้การสื่อสารและการประสานงานด้านการบริหารการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาสะดวกรวดเร็ว
3. เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้พัฒนาการด้านการศึกษาของประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นและมั่นคง
4. เทคโนโลยีบริหารการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้สามารถผลิตผู้จบการศึกษาทุกระดับที่มีคุณภาพได้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
กำหนดให้มีการจัดการศึกษา ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ซึ่งเป็นตอบปัญหาจากสังคมที่คาดหวังจากการปฎิรูปการศึกษา เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากการที่ต้องการแรงงานไร้ฝีมือมาเป็นแรงงานที่มีทักษะที่สูงขึ้น รวมถึงลักษณะการทำงานที่มีความยืดหยุ่น จากงาน​เสวนา ​เรื่อง “​การพัฒนาศักยภาพกลุ่มคน​ทำงานที่บ้านด้วยสื่อ ICT” ภาย​ใต้​โครง​การจัดตั้งศูนย์​การ​เรียนรู้ ICT ชุมชน โดย กระทรวง​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศ​และ​การสื่อสาร ​ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสุ​โขทัยธรรมาธิราช จัด​การ​เสวนา ​เพื่อส่ง​เสริม​ให้กลุ่ม​ผู้รับงาน​ไป​ทำที่บ้าน ​หรือ Home worker สามารถนำ​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศ​และ​การสื่อสาร​เข้า​ไปผสมผสาน​การ​ ใช้ชีวิตประจำวัน ​ทั้ง​การพัฒนาอาชีพ​ในด้านต่าง ๆ ​เช่น ​การสืบค้นข้อมูลที่​เกี่ยวข้องกับอาชีพ​การ​ทำงานของตน ​การค้นหาข้อมูล​เกี่ยวกับราคาของตัวผลิตภัณฑ์ ​และ​เพิ่มทักษะด้านต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของงานใหม่ๆ ที่เกิดจากการพัฒนาของ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีการกำหนดองค์ประกอบของการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการศึกษาในหลายประเทศแตกต่างกันไปแต่ก็มี อยู่ภายใต้เงื่อนไขของหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับได้กำหนดองค์ประกอบการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการศึกษา เช่น UNESCO ได้กำหนดองค์ประกอบในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาไว้ 5 ด้านคือ 1) การกำหนดนโยบาย เพื่อสนับสนุนสภาพแวดล้อมของระบบและบูรณาการในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษา 2) สร้างการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่เหมาะสมทั้งในรูปแบบและนอกระบบ 3) ศึกษาการสนับสนุนครูให้หาทางเลือกใหม่ในการเรียนการสอน 4) พัฒนาตัวชี้วัดเพื่อพิจารณาผลการใช้เทคโนโลยีในการศึกษา 5) ใช้ผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับความต้องการบริบทการศึกษา ในส่วนของรูปแบบการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการเรียนการสอน เช่น การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลายๆอย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่างๆเพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University โดยในประเทศไทยได้มีการจัดทำโครงการ Thailand cyber University (TCU) ที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จะเป็นสรรพวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์รวมของสรรพวิทยาการ) ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ครอบคลุมการศึกษาในทุกระบบ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (In-Formal Education) ที่ประชาชนทุกคน สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ มีระบบการเทียบโอนความรู้จากการศึกษาในแต่ละระบบ เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการศึกษาจากระบบหนึ่ง สามารถจะเทียบโอนความรู้ เข้าสู่การศึกษาในอีกระบบหนึ่งได้ ตามเงื่อนไขและข้อกำหนด ซึ่งจะเป็นการบูรณาการ การศึกษาทุกระบบเข้าด้วยกัน เกิดเป็นระบบการศึกษาที่รองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน มีความยืดหยุ่น ต่อเนื่อง และเสริมกัน มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับตามหลักมาตรฐาน มีหลักสูตร ออนไลน์(online) ที่ผู้เรียนสามารถเรียนจนจบได้รับปริญญาบัตร เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่าย ในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board) การเรียนการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education) เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้ สร้างความหลากหลายในการเรียนรู้ของผู้เรียน จากสถิติของ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (ตั้งแต่เปิดให้บริการ เมื่อ 12 ม.ค. 2548 ถึงเดือนกันยายน 2551) มีจำนวนสมาชิกที่ลงทะเบียน51,718 คนโดยแบ่งเป็น นักเรียน 49,012 คน อาจารย์ 2,706 คน มีจำนวนบทเรียน 470 บทเรียน ใน 16 หลักสูตร มีการลงทะเบียนเพื่อเข้าเรียน 82,331 บทเรียน มีมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการ 3 แห่ง จำนวนครั้งที่มีผู้เข้าใช้บริการในบทเรียน 1,086,750 ครั้ง
จะเห็นได้ว่าจาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในหลายฉบับที่ผ่านมาตั้งแต่ ปี 2000 เป็นต้นมา มีการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในด้านต่างๆ รวมถึงการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการจัดการศึกษานั้น จะส่งผลในขั้นสุดท้ายคือการพัฒนาประเทศให้ทันกระแสการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของโลก ก้าวสู่ยุคของสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐานต่อไป



เอกสารอ้างอิง


http://learners.in.th/blog/mooddang/256432 28 / 04 / 2210
http://etc4msu.multiply.com/journal/item/9 28 / 04 / 2210http://panchalee.wordpress.com/2009/05/17/non-formaleducation/ 29/ 04 / 2210